วิชาประวัติศาสตร์ ส23102 สอนโดยครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา

อ่านข่าว

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิธีประหารสมัยกรุงศรีอยุธยา 14

วิธีประหารสมัยกรุงศรีอยุธยา





วิธีประหารสมัยกรุงศรีอยุธยา


ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรที่รุ่งเรืองที่สุดอีกยุคสมัยหนึ่งของไทยเรา พบว่า มีการตราบทลงโทษขั้นรุนแรงที่สุดคือ โทษประหารชีวิตเอาไว้ในพระไอยการกระบถศึก ซึ่งเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก่อนจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้งในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ แต่กฎหมายฉบับนี้มิได้มีการแก้ไขในบทลงโทษความผิดขั้นประหารชีวิตและวิธีการประหารชีวิตเลยแม้แต่น้อย คือยังคงลักษณะเดิมไว้แต่ครั้งการตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทุกประการ

โดยวิธีการประหารชีวิตตามพระไอยการกระบถศึก บันทึกและอธิบายเอาไว้อย่างละเอียดถึงวิธีการลงโทษประหาร 21 วิธีหรือ 21 สถาน ดังนี้

        สถาน 1 คือ ให้ต่อยกระบานศีศะ (กบาลศีรษะ) เลิกออก (เปิดออก) เสียแล้ว เอาคีมคีบก้อนเหล็กแดงใหญ่ใส่ลงไปในมันสะหมอง (มันสมอง) ศีศะพลุ่งฟู่ขึ้นดั่งม่อ (หม้อ) เคี่ยวน้ำส้มพะอูม

        สถาน 2 คือ ให้ตัดแต่หนังจำระ (จาก) เบื้องหน้าถึงไพรปากเบื้องบนทั้งสองข้างเป็นกำหนด ถึงหมวกหู (ใบหู) ทั้งสองข้างเป็นกำหนด ถึงเกลียวคอชายผมเบื้องหลังเป็นกำหนด (หนังบริเวณคอถึงท้ายทอย) แล้วให้มุ่นกระหมวดผมเข้าทั้งสิ้น (ม้วนเข้าหากัน) เอาท่อนไม้สอดเข้าข้างละคน โยกคลอนสั่นเพิกหนังทั้งผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายหยาบขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์

        สถาน 3 คือ ให้เอาขอเกี่ยวปากให้อ้าไว้ แล้ให้ตามประทีบ (ดวงไฟ) ไว้ในปาก ไนยหนึ่ง (นัยหนึ่ง) เอาปากสิวอันคมนั้นแสะแหวะผ่าปากจนหมวกหู (ใบหู) ทั้งสองข้าง แล้วเอาขอเกี่ยวให้อ้าปากไว้ให้โลหิตไหลออกเต็มปาก

        สถาน 4 คือ เอาผ้าชุบน้ำมันพันให้ทั่วร่างกายแล้วเอาเพลิงจุด

สถาน 5 คือ เอาผ้าชุบน้ำมันพันนิ้วทั้งสิบนิ้วแล้วเอาเพลิงจุด

        สถาน 6 คือ เชือดเนื้อให้เป็นแรงเป็นริ้วอย่าให้ขาดจากกัน ตั้งแต่ใต้คอลงไปถึงข้อเท้าแล้วเอาเชือกผูกจำ ให้เดินเหยียบริ้วเนื้อริ้วหนังแห่งตน ให้ฉุดคร่าตีจำให้เดินไปกว่าจะตาย

        สถาน 7 คือ เชือดเนื้อให้เนื่องด้วยหนังเป็นแร่งเป็นริ้ว ตั้งแต่ใต้คอลงมาถึงเอวและให้เชือดตั้งแต่เอวให้เนื่องด้วยหนังเป็นแร้งเป็นริ้วลงมาถึงข้อเท้ากระทำหนังเบื้องบนให้คลุมลงมาเหมือนนุ่งผ้า

        สถาน 8 คือ ให้เอาห่วงเหล็กสวมข้อศอกทั้งสองข้าง ข้อเข่าทั้งสองข้างให้มั่นแล้วเอาหลักสอดในวงเหล็กแย่งขึงตรึงลงไว้กับแผ่นดินอย่าให้้ไหวตัวได้ แล้วเอาเพลิงรน (ลน) ให้รอบตัวจนกว่าจะตาย

        สถาน 9 คือ ให้เอาเบ็ดใหญ่ที่มีคมสองข้างเกี่ยวทั่วร่างเพิก (เปิด) หนังเนื้อและเอ็นน้อยใหญ่ให้หลุดขาดออกมาจนกว่าจะตาย

        สถาน 10 คือ ให้เอามีดที่คมเชือดเนื้อให้ตกออกจากกายแต่ทีละตำลึง(นำเนื้อมาชั่งให้ได้น้ำหนักหนึ่่งตำลึง:มาตราวัดสมัยโบราณ) จนกว่าจะสิ้นมังสา (เนื้อ)

        สถาน 11 คือ ให้แล่สับทั่วร่างแล้ว เอาแปรงหวีชุบน้ำแสบกรีดครูดขูดเสาะหนังและเนื้อแลเอ็นน้อยใหญ่ให้ลอกออกให้สิ้นให้อยู่แต่ร่างกระดูก

        สถาน 12 คือ ให้นอนลงโดยข้างๆ หนึ่งแล้วให้เอาหลาวเหล็กตอกลงไปโดยช่องหูให้แน่นกับแผ่นดินแล้วจับขาทั้งสองข้างหมุนเวียนไปดังบุคคลทำบังเวียน (เวียนเทียน)

        สถาน 13 คือ ทำมิให้หนังพังหนังขาด แล้วเอาลูกสีลา (ลูกหิน) บดทุกกระดูกให้แหลกย่อย แล้วรวบผมเข้าทั้งสิ้น ยกขึ้นหย่อนลงกระทำให้เนื้อเป็นกองเป็นลอมแล้วพับห่อเนื้อหนังกับทั้งกระดูกนั้นทอดวางไว้ดั่งตั่งอันทำด้วยฟางซึ่งเอาไว้เช็ดเท้า

        สถาน 14 คือ ให้เคี่ยวน้ำมันให้เดือดพลุ่งพล่าน แล้วลาด**censor**ลงมาแต่ศีศะ (ศีรษะ) จนกว่าจะตาย

        สถาน 15 คือ ให้กักขังสุนัขร้ายทั้งหลายไว้ อดอาหารหลายวันให้เต็มอยากแล้วปล่อยให้กัดทึ้งเนื้อหนังกินให้เหลือแต่ร่างกระดูกเปล่า

        สถาน 16 คือ ให้เอาขวานผ่าอกทั้งเป็นแหกออกดั่งโครงเนื้อ

        สถาน 17 คือ ให้แทงด้วยหอกทีละน้อยๆ จนกว่าจะตาย

        สถาน 18 คือ ให้ขุดหลุมฝังเพียงเอว แล้วเอาฟางปกลงคลุมร่างก่อนคลอกด้วยเพลิงพอหนังไหม้แล้วไถด้วยไถเหล็ก ให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่เป็นริ้วน้อยริ้วใหญ่

        สถาน 19 คือ ให้เชือดเนื้อล่ำออกทอดด้วยน้ำมัน เหมือนทอดขนมให้กินเนื้อตัวเองจนกว่าจะตาย

        สถาน 20 คือ ให้ตีด้วยตะบองสั้นตะบองยาวจนกว่าจะตาย

        สถาน 21 คือ ตีด้วยหวายที่มีหนามจนกว่าจะตาย


เกร็ดความรู้ เรื่องเล่าจากลานประหาร


การประหารชีวิต ถือเป็นบทลงโทษที่รุนแรงที่สุดในทุก ๆ ประเทศ ที่มีมาตั้งแต่อดีต ซึ่งถ้าหากใครได้อ่านหรือศึกษาเรื่องราวเหล่านี้ซักครั้ง คงจะรู้สึกไม่ต่างกันหรอกค่ะว่า แม้ว่าในแต่ละประเทศจะมีเครื่องมือประหารชีวิตที่แตกต่างกันออกไป แต่ความรุนแรง หรือความซาดิสม์นั้นไม่ได้ต่างกันเลย เพราะไม่ว่าจะใช้เครื่องมือไหน ๆ ก็ล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์เดียวกัน นั่นคือทรมานคนผิดอย่างเลือดเย็นแล้วปล่อยให้เจ็บปวดตายไปในที่สุด ในประเทศไทยก็เช่นกัน โทษประหารที่เคยทำกันมาตั้งแต่อดีตนั้นขึ้นชื่อว่าโหดใช่ย่อย

เริ่มตั้งแต่สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์


วิธีการประหารชีวิตจะเน้นความทรมานชนิดที่ได้ยินแล้วยังขนลุก ไม่ว่าจะเป็นการเอาน้ำมันเดือดราดหัวจนตาย เอามีดและขวานผ่าอกแหวกตับไตไส้พุงทั้งเป็นจนตาย เอาเบ็ดใหญ่เกี่ยวเนื้อให้หลุดทีละส่วนจนตาย เอามีดคม ๆ แล่เนื้อลอกหนังออกทีละนิดจนตาย เอาหอกค่อย ๆ ทิ่มแทงจนตาย หรือฝังดินครึ่งตัวแล้วเผาส่วนบนจนทรมานตาย

ซึ่งโทษแสนทรมานในสมัยนั้น ก็จะตัดสินจากความผิดที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่นถ้าใครเผาบ้านเมือง ก็จะถูกประหารด้วยการเอาผ้าชุบน้ำมันพันรอบตัวแล้วจุดไฟเผาทั้งเป็น อย่างงี้เป็นต้น และที่สำคัญการประหารชีวิตทุกรูปแบบก็จะต้องทำกันแบบโจ่งแจ้งต่อหน้าชาวบ้านมากมาย เพื่อให้คนเกรงกลัว และมันก็ได้ผลดีเลยล่ะค่ะ เพราะเวลาที่มีการประหารนักโทษซักคน บ้านเมืองก็สงบสุขไปพักใหญ่ทีเดียว เพราะไม่มีใครกล้าทำความผิด ไม่มีใครอยากถูกลงโทษอย่างทรมานอย่างที่ตัวเองไปเห็นมา

สมัยอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์


การประหารด้วยวิธีทรมานสารพัดก็เริ่มค่อย ๆ หายไป เหลืออยู่แค่วิธีเดียวง่าย ๆ นั่นคือ การตัดคอหรือกุดหัวเท่านั้น เป็นวิธีฉับเดียวดับ ไม่ทันได้ทรมานก็ตายแล้ว แถมก่อนหน้าวันประหารก็ยังมีการเลี้ยงข้าวเลี้ยงน้ำอย่างดีอีก และพอถึงวันประหารนักโทษก็ถูกปิดตา ไม่ต้องเห็นบาดแผล ไม่ต้องรู้ว่าใครกำลังจะทำอะไรเรา ไปแบบสบาย ๆ เลยทีเดียว

ในการประหารนักโทษ 1 คน เค้าจะใช้เพชฌฆาตถึง 3 คน ซึ่งโดยปกติแล้ว ถ้าเพชฌฆาตดาบ 1 จะพลาด ก็พลาดมากที่สุดแค่ตัดคอแล้วตายแต่คอดันไม่ขาด ซึ่งแบบนี้เพชฌฆาตดาบ 2 ก็จะรีบเข้ามาฟันให้ขาดทันที ถ้ายังไม่ขาดอีกก็มีดาบ 3 สำรองไว้อีก ต้องเอาให้ขาดอย่างแท้จริงเพื่อที่จะเอาหัวไปเสียบประจานนั่นเอง ส่วนร่างกายก็มอบให้ญาตินำไปทำพิธีต่อไป

ในกรณีที่นักโทษเป็นเชื้อพระวงศ์หรือกษัตริย์ ก็จะมีวิธีเฉพาะคือการทุบด้วยท่อนจันทน์ ที่ถือเป็นไม้หอม เป็นการให้เกียรตินักโทษ โดยการประหารด้วยท่อนจันทน์นี้ จะใช้วัดปทุมคงคาเป็นลานประหาร ส่วนวิธีการ ก็คือ จะนำร่างของผู้ถูกประหารสวมด้วยถุงแดงแล้วรัดถุงให้แน่น เพื่อไม่ให้ใครแตะต้องพระวรกาย และไม่ให้ใครเห็นพระศพด้วย จากนั้นเพชฌฆาตที่ได้รับนามเฉพาะว่า "หมื่นทะลวงฟัน" ก็จะใช้ไม้จันทน์ขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายสากตำข้าวทุบลงไปสุดแรงบริเวณพระเศียรหรือพระนาภี เสร็จแล้วก็นำไปฝังในหลุม 7 คืนเพื่อให้มั่นใจว่าสิ้นพระชนม์แล้วจริง ๆ ก่อนขุดขึ้นมาประกอบพิธีต่อไป

และหากใครสงสัยว่าทำไมไม่ใช้วิธีเปิดผ้าดูว่าสิ้นแล้วหรือไม่ ก็อย่างที่บอกไปค่ะว่าไม่ว่าจะอย่างไร หลังจากนำนักโทษใส่ถุงแดงแล้วก็ห้ามเปิดให้ใครเห็นหรือแตะต้องพระวรกายโดยตรงได้เป็นอันขาด

แต่!วิธีการประหารชีวิตด้วยท่อนจันทน์ เลิกล้มไปในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากมีการประกาศใช้กฎหมาย ร.ศ. 127 ว่า ให้ประหารชีวิตเชื้อพระวงศ์ด้วยวิธีเดียวกันกับสามัญชน ไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นนักโทษ และในที่สุด ในปี 2477 ก็ได้ล้มเลิกการประหารชีวิตด้วยการตัดหัวไป เปลี่ยนเป็นการใช้ปืนยิงแทน โดยวิธีการยิงปืนประหารนี้ ก็จะมีขั้นตอนคล้ายกับการประหารชีวิตด้วยการตัดหัว ต่างที่การยิงปืนประหาร จะทำในห้องประหารมิดชิด ไม่มีการเรียกประชาชนมามุงดูเหมือนกับการประหารชีวิตด้วยการตัดหัวอีกต่อไป

การประหารชีวิตด้วยปืนทำกันมาได้ไม่นานนัก เพราะเมื่อปี 2545 ได้เปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตด้วยปืน มาเป็นการฉีดยาแทน ซึ่งการฉีดยาจะมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นแรกจะฉีดยาให้นักโทษสลบก่อน จากนั้นค่อยฉีดยาหยุดการทำงานของปอดและกระบังลม และสุดท้ายก็จะฉีดยาที่ทำให้หัวใจหยุดเต้น เป็นอันเสร็จพิธี เรียกว่าสบายกว่าวิธีไหน ๆ ไม่ต้องตื่นเต้นว่าจะถูกสับหัวหรือยิงปืนเมื่อไหร่ และวิธีนี้ก็ยังเป็นวิธีที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

ทั้งหมดนี้คือวิวัฒนาการของการประหารชีวิตในสยาม ที่ดูเหมือนจะลดความทรมานลงทุกวัน ๆ ขณะเดียวกันที่สถิติการประหารชีวิตก็ค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ ทั้งในไทยและหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งที่เป็นอย่างนั้นก็ไม่ใช่เพราะว่าคนเรามีคุณธรรมกันมากขึ้นแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะบทลงโทษในสังคมทุกวันนี้มันเบาลงเรื่อย ๆ ต่างหาก..

ยิ่งไปกว่านั้น ในยุคที่บทลงโทษในสังคมเบาลงทุกวัน ขณะที่โจรผู้ร้ายมีมากขึ้นแบบนี้ ก็ยังมีคนในหลายประเทศออกโรงต่อต้านการประหารชีวิตกันอย่างมากมาย เพราะเห็นว่ามันโหดร้าย ก็ไม่แน่ว่า..

บางที โทษประหารอาจถูกล้มเลิกไปในอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้าก็เป็นได้ และถ้าวันนั้นมาถึงเมื่อไหร่ สังคมก็คงวุ่นวายขึ้นน่าดู

สงครามเวียดนาม 13



สงครามเวียดนาม




















สงครามเวียดนาม

สงครามเวียดนาม

เอกราชของขบวนการชาตินิยมเวียดมินห์ ต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมเดิมคือ ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสถอนตัวสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่และสนับสนุนเวียดนามใต้ ความขัดแย้งจึงกลายสงครามตัวแทนในช่วงสงครามเย็น ระหว่างกองกำลังเวียดนามใต้นิยมประชาธิปไตยที่มีสหรัฐสนับสนุนกับกองกำลังนิยมเวียดนามเหนือนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตหนุนหลัง

ภูมิหลังสงครามเวียดนาม


          เวียดนามเคยป็นเมืองขึ้นของจีนสมัยโบราณกว่าร้อยปี จึงรับอิทธิพลความเชื่อลัทธิขงจื๊อและวัฒนธรรมจีนมาผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองของตน ต่อมาในคริสต์สตวรรษที่ 18-19 ฝรั่งเศสขยายอำนาจมายึดครองเวียดนาม กัมพูชาและลาว รวมเรียกว่าอินโดจีนฝรั่งเศส ต่อมาได้มีขบวนการชาตินิยมเรียกร้องเอกราชแต่ถูกฝรั่งเศสปราบปรามอย่างรุนแรง ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก แต่มีผู้นำคนสำคัญที่สามารถนำความสำเร็จมาให้ขบวนการชาตินิยมเวียดนามหรือเวียดมินห์ คือ โฮชิมินห์

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กองกำลังชาตินิยมเวียดมินห์ให้การสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรโดยหวังจะได้เอกราชเป็นการตอบแทน แต่ฝรั่งเศสไม่ยินยอมและกลับมาครอบครองอินโดจีนอีกครั้งหลังสงครามโลก ทำให้เกิดการสู้รบกันตั้งแต่ ค.ศ. 1946 และสิ้นสุดลงในค.ศ 1954 เมื่อฝรั่งเศสแพ้ในสมรภูมิเดียนเบียนฟู มีการทำสัญญาสงบศึกที่ปารีส ฝรั่งเศสถอนตัวจากอินโดจีน มีผลให้ประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชาได้รับเอกราช และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อรวมเวียดนาม แต่ขณะที่ยังไม่มีการเลือกตั้ง ให้แบ่งเวียดนามเป็นสองส่วนที่เส้นขนานที่ 17 เวียดนามเหนือนำโดยโฮชิมินห์ ศูนย์กลางอยู่ที่ฮานอยและเวียดนามใต้ นำโดยกษัตริย์เบาได๋ ศูนย์กลางอยู่ที่ไซ่ง่อน

สหรัฐอเมริกากับสงครามเวียดนาม

          การแทรกแซงของสหรัฐเริ่มต้นต่างจากการเข้าสู่สงครามเกาหลี เนื่องจากปัญหาการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรวมชาติเวียดนาม เพราะเกรงว่าชาวเวียดนามจะเลือกโฮชิมินห์ ซึ่งเป็นวีรบุรุษกู้ชาติเวียดนามทั้งสองส่วนมีวิถีชีวิตต่างกันและนิยมความคิดทางการเมืองไม่ตรงกัน  เวียดนามเหนือส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรยากจน เสียเปรียบเจ้าของที่ดิน จึงนิยมคอมมิวนิสต์ ทั้งยังได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่รบกับฝรั่งเศส สื่งที่สำคัญคือ ความนิยมในตัววีรบุรุษ ผู้นำขบวนการชาตินิยมคือ โฮชิมินห์  หากมีการเลือกตั้งประชาชนทั่วไปมีแนวโน้มจะเลือกโฮชิมินห์ วีรบุรุษของตน โดยไม่สนใจลัทธิการเมือง สหรัฐจึงเข้ามาสนับสนุนเวียดนามใต้แทนฝรั่งเศส เพื่อสกัดกั้นไม่ให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เพราะเกรงว่าผู้นิยมคอมมิวนิสต์จะได้ชัยชนะและทำให้เวียดนามเป็นคอมมิวนิสต์ การยกเลิกการเลือกตั้งประธานาธิบดีทำให้เวียดนามเหนือประกาศสงครามกับเวียดนามใต้อีกครั้ง เพื่อใช้กำลังรวมเวียดนามเป็นประเทศเดียวกัน สหรัฐมีความเชื่อฤษฎีโดมิโน คือ เมื่อชาติหนึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ชาติที่อยู่ใก้ลเคียงจะถูกคุกคามและตกอยู่ในอิทธิพลคอมมิวนิสต์ด้วย เช่นเดียวกับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในยุโรปตะวันออก  จึงเข้ามาปกป้องประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มิให้เป็นไปตามนโยบายวาทะทรูแมนและแผนการมาร์แชล

          สหรัฐอเมริกาเริ่มส่งที่ปรึกษาทางทหารและส่งอาวุธยุทธปกรณ์ เพื่อพัฒนากองทัพให้กับเวียดนามใต้ ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีไอเซ็นเฮาว์และประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี ต่อมาเมื่อเคเนดีเสียชีวิตจากการลอบสังหารที่ดัลลัส เท็กซัส รองประธานาธิบดีจอห์นสันได้รับตำแหน่งผู้นำสหรัฐแทน ได้ส่งกำลังพลนับแสนคนพร้อมอาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง  เข้ามาสกัดกั้นการคุกคามของคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม ทำให้สงครามเวียดนามขยายตัวและรุนแรงมากขึ้น นับแต่ ค.ศ. 1965 เป็นต้นมา

          ฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือมีกองทัพเวียดมินห์  สำหรับการรบเต็มรูปแบบและมีขบวนการเวียดกง เป็นประชาชนทั่วไปที่นิยมคอมมิวนิสต์หรือถูกบังคับให้เป็นคอมมิวนิสต์ ปฏิบัติการแทรกซึมและบ่อนทำลายอยู่ทั่วไปในเวียดนามใต้ ทำให้ยากต่อการปราบปราม และทำให้สื่อต่าง ๆเสนอภาพเสมือนทหารสหรัฐรังแกประชาชนเวียดนามที่อ่อนแอกว่า

          ในช่วงแรกของสงคราม เวียดนามเหนือได้ใช้ยุทธวิธียกกำลังทำสงครามเต็มรูปแบบกับกองทัพสหรัฐ บุกเข้ามาใต้เส้นขนานที่ 17 และสังหารประชาชนอย่างโหดเหี้ยม แม้จะไม่ได้ชัยชนะแต่ทำให้ชาวเวียดนามใต้เกิดความเกรงกลัวอำนาจของคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนืออย่างมาก จึงมักยอมเข้ากับ เวียดนามในฐานะกองกำลังเวียดกง ปฏิบัติการแทรกซึม บ่อนทำลายในเวียดนามใต้

          สหรัฐและพันธมิตรในองค์การ SEATO ได้ระดมความร่วมมือทางทหารเข้าไปรบในเวียดนามแต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะส่วนใหญ่เวียดนามเหนือและเวียดกงรบแบบกองโจร ลอบวางระเบิดและซุ่มโจมตี ทำให้ทหารเวียดนามใต้และทหารนาวิกโยธินสหรัฐเสียชีวิตจำนวนมาก จึงใช้การปราบปรามอย่างรุนแรง เช่น  ยิงทิ้งผู้ที่คาดว่าเป็นเวียดกง การเผาทำลายหมู่บ้าน ตลอกจนการทิ้งระเบิดปูพรมตามจุดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เช่น เมืองท่าและชายแดนเวียดนาม-กัมพูชา เพื่อตัดเส้นทางการลำเลียงทหารและอาวุธจากเวียดนามเหนือสู่เวียดนามใต้ผ่านทางกัมพูชา ทำให้เกิดความเสียหายต่อพลเรือนจำนวนมหาศาล ส่งผลให้ทั่วโลกประนามการกระทำของสหรัฐ

CIA ของสหรัฐยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติเปลี่ยนผู้นำรัฐบาลเวียดนามใต้บ่อยครั้ง แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถแก้ปัญหาการคอรับชั่นในรัฐบาลที่ตั้งขึ้นได้ ทำให้งบประมาณที่สหรัฐให้ไปปรับปรุงกองทัพหรือพัฒนาชนบท กลับไปตกอยู่ในมือของข้าราชการระดับสูงและนายทหารของเวียดนามใต้ การรบในเวียดนามซึ่งทำให้สหรัฐสูญเสียทหารจำนวนมาก เพราะไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศและมีความกดดันจากการเผชิญกับเวียดกงที่รบในประเทศตนเอง ยากต่อการเอาชนะ   
       คนหนุ่มสาวในสหรัฐจึงเดินขบวนเรียกร้องสันติภาพทั่วประเทศ เรียกร้องให้ถอนทหารจากสงครามเวียดนาม   เมื่อมีการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีจอห์นสันจึงไม่ลงสมัครอีก ทำให้นิกสันซึ่งเสนอนโยบายถอนทหารสหรัฐออกจากเวียดนามและลดบทบาททางทหารทั่วโลกได้รับชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนต่อมา นิกสันจึงเจรจากับจีน สนับสนุนโยบายจีนเดียวแลกกับการให้จีนยอมรับการถอนทหารจากเวียดนามตั้งแต่ ค.ศ. 1973  หลังจากนั้นสหรัฐได้ตกลงถอนทหารจนสิ้นสุดในเดือนเมษายน 1975 กองทัพเวียดนามเหนือเข้ายึดครองไซง่อนได้สำเร็จและเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น โฮชิมินห์ซิตี

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สงครามเย็น( Cold War ) 12


สงครามเย็น( Cold War ) 




สงครามเย็นหมายถึง การประจันหน้าด้านอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้นำลัทธิเสรีประชาธิปไตยกับสหภาพโซเวียตประเทศ ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นการปะทะกันทุก ๆ วิถีทาง ยกเว้นด้านการทหาร การขยายอำนาจในสงครามเย็นจึงเป็นลักษณะการแสวงหาพรรคพวกร่วมอุดมการณ์และแข่งขันกันเป็นมหาอำนาจทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ โดยไม่ทำสงครามกันอย่างเปิดเผย แต่เป็นการสนับสนุนให้ประเทศที่เป็นพวกของแต่ละฝ่ายทำสงครามตัวแทน 

สาเหตุของสงครามเย็น 

สหรัฐอเมริกาได้ประกาศวาทะทรูแมน (Trueman Doctrine)ในค.ศ 1947 มีสาระสำคัญว่า ...สหรัฐอเมริกาจะโต้ตอบการคุกคามของประเทศคอมมิวนิสต์ทุกรูปแบบและทุกสถานที่ แล้วแต่สหรัฐจะเห็นสมควร โดยไม่จำกัด ขนาด เวลา และสถานที่ ....จะให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ให้พ้นจากการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่กรีซและตุรกีเป็นตัวอย่าง สืบเนื่องมาจากสหภาพโซเวียตเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และแทรกแซงให้ความช่วยเหลือกบฎในตุรกีและกรีกเพื่อจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ การประกาศวาทะทรูแมนจึงเป็นจุดเริ่มต้นสงครามเย็นที่แท้จริง ต่อมาสหรัฐได้ประกาศแผนการมาร์แชล(Marshall Plan) เพื่อให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจกับยุโรปตะวันตก

ขณะเดียวกันสหภาพโซเวียตได้ตอบโต้ด้วยการจัดตั้ง องค์การโคมินฟอร์ม ( Cominform ) ใน ค.ศ. 1947 เพื่อขยายลัทธิคอมมิวนิสต์สู่ประเทศต่าง ๆ และสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออก ต่อมาได้ซึ่งพัฒนามาเป็นองค์การ โคมินเทอร์น (Comintern)

การเผชิญหน้าทางทหาร ใน ค.ศ. 1949 สหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization ) ประกอบด้วยภาคี 12 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักซัมเบอร์ก สหรัฐอเมริกา แคนาดา เดนมาร์ค ไอซ์แลนด์ อิตาลี นอร์เวย์และเปอร์ตุเกส ต่อมาตุรกีและกรีซ ได้เข้าเป็นสมาชิก และในค.ศ. 1955 เยอรมนีตะวันตกได้เข้าเป็นสมาชิกด้วย

ในค.ศ.1955 สหภาพโซเวียตได้ชักชวนให้ประเทศในยุโรปตะวันออกลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอร์ ( Warsaw Pact)ซึ่งเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางทหาร ประเทศภาคี คือ สหภาพโซเวียต เยอรมนีตะวันออก โปแลนด์ ฮังการี รูมาเนีย บัลกาเรียและเชคโกสโลวาเกีย
วิกฤตการณ์เบอร์ลิน(The Berlin Blockade) ค.ศ.1948 

เบอร์ลินถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนแบ่งเขตยึดครองคือ ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ได้ส่วนยึดครองทางเบอร์ลินตะวันตกและเยอรมนีตะวันตก สหภาพโซเวียตได้เบอร์ลินส่วนตะวันตกและเยอรมนีตะวันตก เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองสหภาพโซเวียตได้ประกาศปิดล้อมเบอร์ลินไม่ให้สัมพันธมิตรเข้าออกเบอร์ลินในวันที่ 19 มิถุนายน 1948 ถึง พฤษภาคม 1949 มิให้มีการติดต่อกับภายนอก เพื่อบังคับให้มหาอำนาจตะวันตกละทิ้งเบอร์ลิน โดยปิดเส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ ตัดกระแสไฟฟ้าประเทศสัมพันธมิตรและคณะมนตรีความมั่นคงแก้ปัญหาโดยการใช้เครื่องบินบรรทุกเครื่องอุปโภคบริโภคไปโปรยให้ชาวเบอร์ลินตะวันตกเป็นเวลากว่า 1 ปี เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การแบ่งแยก เยอรมันนีเป็น 2 ประเทศและแบ่งเบอร์ลินเป็น 2 ส่วนอย่างถาวร

การแบ่งเขตยึดครองเบอร์ลินของของมหาอำนาจ 4 ประเทศ สร้างกำแพงยาวกว่า 27 ไมล์
กั้นระหว่างเบอร์ลินในค.ศ.1961 เรียกกำแพงเบอร์ลิน
ในค.ศ.1949 เยอรมนีตะวันตกได้ตั้งเป็นประเทศ ชื่อว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและสหภาพโซเวียตได้ตั้งเขตปกครองของตนในเยอรมนีตะวันออกเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน เมื่อแบ่งประเทศแล้ว ชาวเยอรมนีตะวันออกได้อพยพมาอยู่ในเขตตะวันตกมากขึ้นตลอดเวลา ทำให้รัสเซียต้อง สร้างกำแพงยาวกว่า 27 ไมล์ กั้นระหว่างเบอร์ลินใน ค.ศ.1961 เรียก กำแพงเบอร์ลิน

เครื่องบินสัมพันธมิตรขนส่งอาหารให้กับประชาชนในเบอร์ลินตะวันตก

กำแพงเบอร์ลิน
กำแพงเบอร์ลินสร้างในปี ค.ศ. 1961 แบ่งเบอร์ลินตะวันตกและตะวันออก ออกจากกัน เป็นสัญลักษณ์สำคัญหนึ่งของสงครามเย็น และถูกทำลายไปเมื่อ ค.ศ. 1989 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1990 โดยมิคาอิล กอบาชอฟ ยินยอมให้เยอรมันทั้งสองตัดสินใจอนาคตตนเอง โดยสหภาพโซเวียตจะไม่เข้าแทรกแซงจึงมีการรวมเยอรมันเป็นประเทศเดียวกันอย่างเป็นทางการ เรียกว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 

สงครามโลกครั้งที่ 1 11


สงครามโลกครั้งที่ 1



            เริ่มใน ค.ศ. 1914 สิ้นสุดใน ค.ศ.1918 เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ 2 ค่าย คือ ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการี และอิตาลี (ผู้นำสำคัญ คือบิสมาร์ค แห่งเยอรมนี) กับฝ่าย ประกอบด้วย Triple Entente ได้แก่ บริเตนใหญ่ ( อังกฤษ ) ฝรั่งเศส และรัสเซีย การรบเริ่มขึ้นหลังการลอบสังหารมกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย – ฮังการี และสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของมหาอำนาจกลาง หรือ Triple Alliance มีการทำสนธิสัญญาแวร์ซายส์ บังคับให้เยอรมนีและพันธมิตรเสียค่าปฏิกรรมสงครามชดใช้จำนวนมหาศาลและเสียดินแดนที่เป็นอาณานิคมให้แก่ฝ่าย Triple Entente

สาเหตุสงครามโลกครั้งที่ 1 


ลัทธิชาตินิยม

 
การเกิดลัทธิชาตินิยมจากคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ทำให้เกิดระบบรวมรัฐชาติ สร้างระบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง รัฐชาติในประเทศยุโรปต่างแสวงหาความเป็นมหาอำนาจ ทั้งทางทหารและเศรษฐกิจ รัฐชาติหมายถึง รัฐหรือประเทศที่ประชาชนมีความรู้สึกผูกพันกัน มีความสามัคคี ภาคภูมิใจในความเป็นชาติ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ความรักชาติที่รุนแรงจนเป็นลัทธิชาตินิยม ทำให้เชื่อว่าชาติตนเหนือกว่าชาติอื่น ผลักดันชาติของตนได้เปรียบชาติอื่นไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ หรือการทหาร นำไปสู่การแข่งขันอำนาจกัน จนกลายเป็นสงคราม เช่น สงครามการรวมอิตาลี การรวมเยอรมนี จนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 

ลัทธิจักรวรรดินิยม 

ลัทธิชาตินิยมนำไปสู่ลัทธิจักรวรรดินิยม ลัทธิจักรวรรดินิยม หมายถึงประเทศที่พัฒนา แล้วประสบความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ การทหาร และวิทยาศาสตร์ เข้าครอบครอง ที่ด้อยพัฒนากว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมเริ่มจากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ต้องการวัตถุดิบและตลาด มหาอำนาจยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ปรัสเซีย ( เยอรมนี) เนเธอร์แลนด์ ต่างแข่งขันกันขยายอำนาจในการครอบครองดินแดนในทวีปเอเชียอเมริกากลางและอัฟริกาโดยครอบงำทาวัฒนธรรม และวิถีชีวิต เป็นแหล่งเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้เมืองแม่ 

การแบ่งกลุ่มพันธมิตรยุโรป 

นโยบายการรวมกลุ่มที่มีผลประโยชน์ตรงกัน เริ่มต้นใน ค.ศ. 1907 เมื่อ เยอรมัน และออสเตรีย-ฮังการีลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรไตรมิตร (Triple Alliance )ประจันหน้ากับรุสเซีย เนื่องจากเยอรมนี ต้องการไม่ให้รัสเซียเป็นใหญ่ในชนเผ่าสลาฟแหลมสมุทรบอลข่าน ต่อมามีอิตาลีมาร่วมประเทศ เพราะไม่พอใจฝรั่งเศสที่แย่งครอบครองตูนิเซีย ในฐานะรัฐในอารักขา ฝ่ายออสเตรีย – ฮังการีซึ่งต้องการเป็นใหญ่ในแหลมบอลข่านเช่นกัน โดยได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียลงนามในสนธิสัญญาสันธไมตรีไตรมิตร (Triple Entente ) ค.ศ. 1907และเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นด้วย 

ความขัดแย้งเรื่องแหลมบอลข่าน 

สาเหตุสำคัญเกิดจากการที่ออสเตรีย – ฮังการีขัดแย้งกับเซอร์เบีย เรื่องการสร้างเขตอิทธิพลในแหลมบอลข่าน เยอรมนีสนับสนุนออสเตรีย – ฮังการี ขณะที่รัสเซียสนับสนุนเซอร์เบีย ความขัดแย้งขยายความรุนแรงเป็นสงครามระหว่างรัฐในแหลมบอลข่าน มหาอำนาจจึงมีโอกาสแทรกแซงและตั้งกลุ่มพันธมิตร 

จุดระเบิดของสงครามโลกครั้งที่ 1 มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการีคือ อาร์ค ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ กับพระชายาโซเฟีย ถูกลอบปลงพระชนม์ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1914ที่เมืองซาราเจโว ขณะเสด็จเยือนเมืองหลวงของบอสเนีย โดยคนร้ายชื่อ กาฟริโล ปรินซิพ นักศึกษาชาวบอสเนียสัญชาติเซอร์เบีย ออสเตรียเรียกร้องให้เซอร์เบียปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง เซอร์เบียปฏิเสธออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย 28 กรกฎาคม 1914 รัสเซียแสดงตนว่าเป็นผู้พิทักษ์เผ่าสลาฟจึงระดมพล เยอรมนีประกาศสงครามกับฝรั่งเศสและรัสเซีย ต่อมาอังกฤษเข้าสู่สงครามเมื่อเยอรมนีบุกเบลเยียม และญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามต่อเยอรมนี เพราะมุ่งหวังในอาณานิคมของเยอรมนีในจีน 

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 

            1. การสถาปนาองค์การสันนิบาตชาติ แต่มีจุดอ่อนในการรักษาสันติภาพ เพราะรัสเซีย ถอนตัวและสหรัฐอเมริกาไม่เข้าเป็นสมาชิก ทั้งยังไม่มีกองทหารรักษาสันติภาพด้วย 

            2. เกิดสนธิสัญญาสันติภาพที่ประเทศผู้ชนะร่างขึ้นมี 5 ฉบับ 

- สนธิสัญญาแวร์ซายส์ทำกับเยอรมนี เยอรมนีต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาลและเสียดินแดนหลายแห่ง ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก ราคาสินค้าตกต่ำ ในเยอรมนีไม่สามารถใช้หนี้สงครามได้และมองสนธิสัญญานี้ว่าไม่เป็นธรรม จนฮิตเลอร์นำมาประณามเมื่อเริ่มมีอำนาจ 

- สนธิสัญญาแซงต์ แยร์แมงทำกับออสเตรีย 
- สนธิสัญญาเนยยี ทำกับบัลแกเรีย 
- สนธิสัญญาตริอานองทำกับฮังการี 
- สนธิสัญญาแซฟส์ทำกับตุรกี ต่อมาเกิดการปฏิวัติในตุรกีจึงมีการทำสนธิสัญญาใหม่เรียกว่าสนธิสัญญาโลซานน์ 

            3. ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น และความยากจนต่อเนื่องจากก่อนสงคราม นำไปสู่การที่เลนิน ปฏิวัติเปลี่ยนประเทศรัสเซียเป็นคอมมิวนิสต์ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 

            4. ในยุโรปมีรูปแบบของรัฐเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่รัสเซีย เลนินปฏิวัตินำระบบคอมมิวนิสต์มาปกครองรัสเซียใน ค.ศ. 1917 และในค.ศ. 1924 -1953 สตาลินได้ใช้ระบบเผด็จการที่เน้นการปราบศัตรูทางการเมืองและการผูกขาดอำนาจด้วยความรุนแรงมากขึ้น ส่วนในเยอรมนี ฮิตเลอร์ได้เป็นผู้นำ ใช้ระบบเผด็จการโดยอำนาจพรรคนาซี ตั้งแต่ ค.ศ.1933 และในอิตาลี มุสโสลินีได้ตั้งพรรคฟาสซิสต์ขึ้นในเวลาต่อมา 

            5. เกิดประเทศใหม่ 7 ประเทศเนื่องมาจากการแยกดินแดนได้แก่ ฮังการี ยูโกสลาเวีย โปแลนด์ เชคโกสโลวาเกีย ลิทัวเนีย แลตเวีย แอสโตเนีย

อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก 10

อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก




อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก

            วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่างๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย 
            โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย  ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง

            1.  วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทย มีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย  เช่น สุโขทัย ล้านนา ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย จีน เปอร์เซีย เพื่อนบ้าน เช่น เขมร มอญ พม่า โดยผ่านการติดต่อค้าขาย การรับราชการของชาวต่างชาติ การทูต และการทำสงคราม
            สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
1.  ด้านอักษรศาสตร์  เช่น  ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม  รับภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา  ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  จากอินเดีย  เขมร  นอกจากนี้  ในปัจจุบันภาษาจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี  ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น

2.  ด้านกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย  ได้แก่  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง  และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

3.  ด้านศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ  เช่น  ทวารวดี  หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา  หรือสุโขทัย  รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา  นอกจากนี้  คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่  รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา

4.  ด้านวรรณกรรม  ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์  มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย  เรื่องอิเหนาจากชวา  ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน  เช่น  สามก๊ก  ไซอิ๋ว  วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น  ราชาธิราชของชาวมอญ  อาหรับราตรีของเปอร์เซีย  เป็นต้น

5.  ด้านศิลปวิทยาการ  เช่น เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย  ศรีลังกา

6.  ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต เช่น คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง เครื่องเทศจากอินเดีย  รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด การใช้กะทะ การใช้น้ำมันจากจีน  ในด้านการแต่งกาย คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย  เป็นต้น

            2.  วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร สถาปัตยกรรม ศิลปวิทยาการ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นต้นมา คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน

            ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
1.  ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร  มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย  การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก

2.  ด้ารการศึกษา  ในสมัยรัชกาลที่ 3  มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก  ในสมัยรัชกาลที่ 4  ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
ในสมัยรัชการลที่ 5  มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น  โรงเรียนแพทย์  โรงเรียนกฎหมาย  ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 3.  ด้านวิทยาการ  เช่น  ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่  ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3  ในสมัยรัชกาลที่ 5  มีการจัดตั้งโรงพยาบาล  โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล  ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน 
 ด้านการพิมพ์  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387  ชื่อ  “บางกอกรีคอร์เดอร์”  การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น  ในด้านการสื่อสารคมนาคม  เช่น  การสร้างถนน  สะพาน  โทรทัศน์ โทรศัพท์  กล้องถ่ายรูป  รถยนต์  รถไฟฟ้า  เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก

4.  ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  นอกจากนี้  วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว  และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย  เช่น  การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย  เช่น  งานเขียนของดอกไม้สด  ศรีบูรพา

 5.  ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น  การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก  การปลูกสร้างพระราชวัง  อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก  ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก  เช่น  ฟุตบอล  กอล์ฟ  เข้ามาเผยแพร่  เป็นต้น

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกาใต้ 09


พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกาใต้











ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

            การตั้งถิ่นฐานของชนพื้นเมืองก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ายึดครอง เชื่อกันว่าชาวอินเดียนแดงได้อพยพมาจากทวีปเอเชีย 
            โดยเดินทางข้ามช่องแคบเบริ่ง เร่ร่อนจากทวีปอเมริกาเหนือลงสู่ ทวีปอเมริกาใต้ และมาตั้งหลักแหล่งอย่างมั่นคงบริเวณเทือกเขาแอนดีส 
            มีหลักฐานที่เด่นชัดคือซากเมือง มาชู ปิกชู Machu Piachu ของอาณาจักรอินคา บริเวณประเทศเปรู 
            นับตั้งแต่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานยุคแรกเมื่อ 20,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ดำรงชีพด้วยการเก็บเกี่ยวจากธรรมชาติ ล่าสัตว์ เก็บของป่ากิน 
            จนถึงยุคการปลูกพืชพรรณและเลี้ยงสัตว์ กลายเป็นการวางรากฐานด้านเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบ 
            รวมทั้งการก่อตั้งหมุ่บ้านและสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อของมนุษย์ในสมัยนั้น 
            เมื่อ 8,000 ปีก่อนคริสตศักราช ดินแดนอันกว้างใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้ สามารถเพาะปลูกพืชได้หลายชนิด ตามลักษณะภูมิอากาศ เช่น มันฝรั่ง ฮอลลูโก กวีนัว กีวีชา ฟักทอง ฝ้ายพริก ข้าวโพด ฯลฯ
            ในยุคเปรูโบราณ ลามา อัลปาก้า และวิกูญา เป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ สัตว์เหล่านี้ให้เส้นใยสำหรับเสื้อผ้าอันอบอุ่น เนื้อสัตว์สำหรับประกอบอาหาร หนังและกระดูกสำหรับทำเครื่องมือต่าง ๆ หยดน้ำมันสำหรับให้ความร้อนและพลังงาน และทำให้ผู้คนขนส่งสินค้าไปในระยะไกล ๆ ได้ 
            เมื่อ 7,000 ปีก่อนคริสตศักราช สัตว์เหล่านี้ทำให้คนสามารถอยู่อาศัยในพื้นที่เปราะบางที่สุดของเทือกเขาแอนดีส ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 4,200 เมตร 
            ที่ซึ่งยากแก่การทำสวนไร่นาและชีวิตความเป็นอยู่ขึ้นกับการเคลื่อนที่ไปมา ทำให้เข้าถึงระบบนิเวศวิทยาที่หลากหลาย พร้อมทั้งแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ที่เติมให้สมบูรณ์ 
            ขณะที่วัฒนธรรมภาคพื้นค่อยๆ รวมตัวเข้าด้วยกัน เทคนิคใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นมา เช่น การทอเส้นใย การทำโลหะผสมและการทำอัญมณี ทำให้วัฒนธรรมระดับสูงเกิดขึ้น เช่น
ชาแวง ( 1,000 ปีก่อนคริสตศักราช ) ,
พารากัส ( 700 ปีก่อนคริสตศักราช ) ,
โมช ( 100 ปีหลังคริสตศักราช ),
นาซก้า ( 300 ปีหลังคริสตศักราช ),
วารี ( 600 ปีหลังคริสศักราช ),
ชิมู ( 700 ปีหลังคริสตศักราช ),
ชาชาโปยาส ( 800 ปีหลังคริสตศักราช )
และอาณาจักรอินคา 1,500 ปีหลังคริสตศักราช
            ชาวอินคาบูชาเทพเจ้าแห่งผืนดินปาชามามาและเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์อินติ อำนาจอธิปไตยของชาวอินคาคือ ผู้นำสูงสุดของทาวันทินซูยู (อาณาจักรอินคา) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิ่งซึ่งได้รับตกทอดมาจากอินติ 

            ในยุคที่เฟื่องฟูสูงสุดชาวอินคาได้สร้างงานทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่น่าประทับใจ ตัวอย่างที่สำคัญที่สุดที่สามารถพบเห็นได้ในปัจจุบันนี้คือซากเมืองคุชโก เมืองหลวงของอาณาจักรอินคาแห่งนี้และพื้นที่รอบ ๆ เช่น ป้อมซัคเซย์วาแมน และป้อมมาชูปิกชู
            เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส Christopher Columbus ชาวอิตาเลียน เดินทางสำรวจพบทวีปอเมริกา ใน ค.ศ. 1492 แล้ว ชาวยุโรปก็สนใจที่จะแล่นเรือมาทางทิศตะวันตกเพิ่มมากขึ้น 
            ในปี ค.ศ. 1499 นักเดินเรือชาวอิตาลียน ชื่อ อเมริโก เวสปุกชี Americo Vespucci เดินทางสำรวจให้กับสเปน ได้แล่นเรือสำรวจชายฝั่งประเทศเวเนสุเอลา ทะเลสาบมาราไคโบ 
            พบเห็นบ้านเรือนของชนพื้นเมืองก่อตั้งอยู่ริมน้ำ คล้ายหมู่บ้านของชาวเวนิส จึงเรียกดินแดนที่เขาพบนี้ว่า เวเนสุเอลา ซึ่งหมายถึง เวนิสน้อย 

            ในปี ค.ศ. 1500 นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ชื่อ เปโดร อัลวาเรส คาบรัล Pedro Alvares Cabral ได้แล่นเรือสำรวจชายฝั่งทางด้านตะวันออกของประเทศบราซิล 
            หลังจากนั้นชาวโปรตุเกสก็เข้ายึดครองทางด้านตะวันออกของทวีป ส่วนสเปนก็เข้าสำรวจทางด้านตะวันตกจากภาคเหนือสู่ภาคใต้ ซึ่งในที่สุดได้นำไปสู่การก่อตั้งอาณานิคมของชาวสเปนหลายแห่ง

            เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1492 โคลัมบัสได้รับการแต่งตั้งจาก พระนางเจ้าอีสเบลลา แห่งสเปน ให้เป็นผู้สำเร็จราชการครอบครองหมู่เกาะอินดิสตะวันตก
ค.ศ. 1519 เฮอร์นาน คอร์เตส Hernan Cortes ได้พิชิตอาณาจักรแอชเต็ก ในเม็กซิโก
            ค.ศ. 1531 ฟรานซีสโก ปิซาโร Francisco Pizarro เข้าสำรวจพบอาณาจักรอินคา และทำสงครามกับชาวอินคา นาน 5 ปีสามารถปราบอาณาจักรอินคาได้
            ค.ศ. 1541 เปโดร เดอ วัลดิเวีย Pedro de Valdivia นำทหารสเปนเข้าครอบครอง ดินแดนชิลีได้สำเร็จ

            ดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ตกเป็นอาณานิคมของสเปนและโปรตุเกส ยกเว้น 
กายอานาและฟอร์กแลนด์ เป็นของสหราชอาณาจักร
เฟรนซ์กิอานา เป็นของฝรั่งเศส
สุรินาเม เป็นของเนเธอร์แลนด์

การประกาศเอกราชของประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้

            ด้วยเหตุที่อาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือได้ประกาศเอกราช ตั้งเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา 
            จึงเป็นตัวอย่างที่ชาวอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ต้องการเอกราช โดยเริ่มจากชาวอาณานิคมในเมืองคารากัส ได้ก่อการกบฏขึ้นในปี ค.ศ. 1810 ขับไล่แม่ทัพของสเปน ออกไป และตั้งคณะกรรมการขึ้นปกครองตนเอง 
            โดยมีผู้นำในอาณานิคมหลายคน ที่ต้องการปลดปล่อยอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ให้เป็นอิสระ เช่น
            ในปี ค.ศ. 1818 โฮเซ เดอ ซาน มาร์ติน Jose de San Martin เป็นผู้นำในการปลดปล่อย ในอาร์เจนตินาและชิลี ให้เป็นเอกราช
            ในปี ค.ศ. 1821 ซิมอน โบลิวาร์ Simon Bolivar เป็นผู้นำในการปลดปล่อย เอกวาดอร์ และเวเนสุเอลา ได้สำเร็จ
            ในปี ค.ศ. 1822 โอรสของกษัตริย์แห่งโปรตุเกส ก็ประกาศบราซิลให้เป็นเอกราช โดยมีพระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ ค.ศ. 1889 ทหารเข้ายึดอำนาจล้มระบอบกษัตริย์เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ 08

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ





ทวีปอเมริกาเหนือ 

            เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกา ตามลำดับ 
            ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศ โดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน 
            ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 3 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ประเทศเม็กซิโก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ 
            ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 21 ประเทศ 
            โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ 
            สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง 
            ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา 
            อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

            คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวเมืองเจนัว ประเทศอิตาลี ได้รับอาสาพระนางอิสเบลลา แห่งสเปน เดินเรือสำรวจมหาสมุทรแอตแลนติก 
            เพื่อค้นหาเส้นทางไปยังทวีปเอเชีย เขาเดินทางมาพบทวีปอเมริกาเหนือ ในปี พ.ศ.2035 และเดินทางมาสำรวจอีก 3 ครั้ง ในเวลาต่อมา
            โดยเข้าใจว่า ดินแดนที่พบนี้คือทวีปเอเชีย ต่อมา อเมริโก เวสปุคชี ชาวเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ได้เดินทางมายังดินแดนนี้ตามเส้นทางของโคลัมบัส เพื่อสำรวจให้กับสเปนและโปรตุเกส รวม 4 ครั้ง 
            ในปี พุทธศักราช 2040, 2042, 2044 และ 2046 รายงานของเขาถูกตีพิมพ์เผยแพร่ ทำให้ชาวยุโรปทราบเรื่องราวทวีปใหม่ดีขึ้น และตั้งชื่อทวีปใหม่ว่า “อเมริกา” เพื่อเป็นเกียรติแก่ อเมริโก เวสปุคชี 
            พวกที่เดินทางสู่อเมริกา โดยเรือขนาดเล็ก ต่างเบียดเสียดกันอย่างแสนสาหัส ตลอดเวลาการเดินทาง 16 สัปดาห์ 
            ยังชีพด้วยการแบ่งปันส่วนอาหาร หลายครั้งที่ถูกพายุพัดเสียหาย ผู้คนล้มป่วยและตายลงเป็นจำนวนมาก เด็กทารกนั้นยากนักที่จะมีชีวิตรอดได้
            ภาพแผ่นดินใหม ่ที่ชาวอาณานิคมได้เห็นคือ ภาพป่าทืบอุดมสมบูรณ์ ด้วยพันธุ์ไม้ อันหมายถึงว่า จะมีฟืน ไม้สำหรับต่อเรือ ปลูกบ้าน ทำสีย้อมผ้า ตลอดจนเครื่องใช้ ต่างๆ อย่างพร้อมสรรพ 
            ดินแดนที่ถูกค้นพบใหม่ ได้มีการแย่งชิงกันหลายชาติ ชาวสเปนครอบครองอาณานิคมในเขตอเมริกากลาง อเมริกาใต้และหมู่เกาะอินดีสตะวันตก อังกฤษสามารถก่อตั้งอาณานิคมบริเวณรอบๆ อ่าวฮัดสัน และชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออกของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน
            ส่วนตอนกลางของอ่าวเม็กซิโกขึ้นไป ตลอดลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี ทะเลสาบทั้ง 5 และชายฝั่งตะวันออกของแคนาดา เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
            มูลเหตุที่ชักจูงให้ผู้คนอพยพมาสู่ทวีปอเมริกา คือความปรารถนาในการสร้างฐานะ ความอยากที่จะเผชิญโชค ความใฝ่ฝันที่จะมีเสรีภาพทางการเมืองและการนับถือศาสนา
            ต่อมาอังกฤษทำสงครามกับฝรั่งเศสในทวีปยุโรป ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายแพ้สงคราม จึงต้องเสียอาณานิคมในอเมริกาให้กับอังกฤษ ทำให้อาณานิคมของอังกฤษขยายออกไป พร้อมกับการขยายตัวทางวัฒนธรรมเป็นเงาตามตัว
            ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลอังกฤษกับชาวอาณานิคมได้เกิดขึ้นเนื่องจากนโยบายการคลังของอังกฤษเรียกเก็บภาษีในรูปแบบต่าง ๆ จากชาวอาณานิคม 
            เช่น พ.ร.บ. น้ำตาล พ.ศ.2307 ให้เก็บสินค้าน้ำตาลที่ไม่ได้ส่งมาจาก อังกฤษ พ.ร.บ. แสตมป์ พ..ศ. 2308 ให้ปิดแสตมป์สิ่งพิมพ์ทุกชนิด ภาษีที่รัฐบาลอังกฤษเรียกเก็บสูงขึ้นเรื่อยๆ 
            จนชาวอาณานิคมเกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรม และแล้ว ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2316 ณ เมืองบอสตัน 
            ชาวอาณานิคม กลุ่มหนึ่งได้ปลอมตัวเป็นชาวอินเดียนแดงลงไปในเรือบรรทุกสินค้าของอังกฤษ แล้วขนหีบหอใบชาโยนทิ้งทะเล เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า “บอสตัน ที ปาร์ตี” 
            ได้กลายเป็นชนวนที่ทำให้เกิดการรวมตัวกัน ของชาวอาณานิคม ต่อต้านรัฐบาลอังกฤษอย่างจริงจัง สงครามการต่อต้านรัฐบาลอังกฤษได้ยืดเยื้อนานถึง 6 ปี 
            มีการสู้รบเกิดขึ้นทุกแห่ง โดยมี ยอร์ช วอชิงตัน เป็นแม่ทัพและแล้วในวันที่ 4 กรกฏาคม พ..ศ. 2319 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศอิสรภาพ ณ เมืองฟิลาเดลเฟีย
            โดยโทมัส เจฟเฟอสัน เป็นผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพ ไม่เพียงแต่เกิดชาติใหม่เท่านั้น แต่เป็นการประกาศให้โลกรู้ถึง ความสำคัญของสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ 
            ในระยะแรกมีเพียง 13 รัฐเท่านั้น ที่อยู่ทางชายฝั่งตะวันออกด้านมหาสมุทรแอตแลนติก ที่รวมกันเข้าเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา 
            หลังจากนั้นก็ขยายอาณาเขตมุ่งสู่ทิศตะวันตก ซึ่งก็ต้องประสบกับ การต่อต้านจากพวกอินเดียนแดงเผ่าต่าง ๆ ที่เป็นชนพื้นเมืองดั่งเดิมอย่างมาก 
    
            การขยายตัวของสหรัฐอเมริกาไปทางทิศตะวันตก ในครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 24 โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้คือ
            1. โดยการบุกเบิกจับจองที่ดินว่างเปล่า
            2. โดยการซื้อ
2.1 รัฐหลุยเซียนา ซื้อจากฝรั่งเศส 15 ล้านดอลลาร์
2.2 รัฐฟลอริดา ซื้อจากสเปน 5 ล้านดอลลาร์
2.3 แคลิฟอร์เนีย ซื้อจากเม็กซิโก 10 ล้านดอลลาร์
2.4 อลาสก้า ซื้อจากรัสเซีย 7.2 ล้านดอลลาร์
            3 . โดยการผนวกดินแดนคือรัฐฮาวายและเท็กซัส
            4 . โดยการทำสงครามได้แคลิฟอร์เนียและนิวเม็กซิโกจากการรบชนะเม็กซิโก

            หลังจากสหรัฐอเมริกาได้ประกาศเอกราช ไม่เป็นอาณานิคมของอังกฤษแล้ว แคนาดาซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษเหมือนกัน แต่อยู่ใกล้กับสหรัฐอเมริกา 
            ทำให้รัฐบาลอังกฤษต้องอะลุ่มออล่วยให้แคนาดาบ้าง ต่อมาภายหลังได้ให้แคนาดาปกครองตนเอง โดยมีฐานะที่เรียกว่า“ดอมิเนียนแห่งแคนาดา”
            หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว แคนาดาจึงได้รับเอกราช แต่เนื่องจากชาวอาณานิคมในแคนาดา มีความผูกพันกับอังกฤษ รัฐบาลของแคนาดาจึงขออยู่ภายใต้ระบบที่เรียกว่า “ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ” commonwealth
            จะเห็นได้ว่าประเทศในกลุ่มแองโกลอเมริกา ได้สร้างชาติของตนให้ยิ่งใหญ่ขึ้นมาไม่นานนัก ทั้งสหรัฐอเมริกาและแคนาดา 
            แม้จะพยายามสร้างเอกลักษณ์ของตนขึ้นมาเพียงใด ก็ยังคงมีสายใยของความผูกพัน กับประเทศในยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษ 
            ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจากเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี และประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ ที่มีร่วมกันเป็นระยะเวลานาน