วิชาประวัติศาสตร์ ส23102 สอนโดยครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา

อ่านข่าว

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิธีประหารสมัยกรุงศรีอยุธยา 14

วิธีประหารสมัยกรุงศรีอยุธยา





วิธีประหารสมัยกรุงศรีอยุธยา


ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรที่รุ่งเรืองที่สุดอีกยุคสมัยหนึ่งของไทยเรา พบว่า มีการตราบทลงโทษขั้นรุนแรงที่สุดคือ โทษประหารชีวิตเอาไว้ในพระไอยการกระบถศึก ซึ่งเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก่อนจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้งในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ แต่กฎหมายฉบับนี้มิได้มีการแก้ไขในบทลงโทษความผิดขั้นประหารชีวิตและวิธีการประหารชีวิตเลยแม้แต่น้อย คือยังคงลักษณะเดิมไว้แต่ครั้งการตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทุกประการ

โดยวิธีการประหารชีวิตตามพระไอยการกระบถศึก บันทึกและอธิบายเอาไว้อย่างละเอียดถึงวิธีการลงโทษประหาร 21 วิธีหรือ 21 สถาน ดังนี้

        สถาน 1 คือ ให้ต่อยกระบานศีศะ (กบาลศีรษะ) เลิกออก (เปิดออก) เสียแล้ว เอาคีมคีบก้อนเหล็กแดงใหญ่ใส่ลงไปในมันสะหมอง (มันสมอง) ศีศะพลุ่งฟู่ขึ้นดั่งม่อ (หม้อ) เคี่ยวน้ำส้มพะอูม

        สถาน 2 คือ ให้ตัดแต่หนังจำระ (จาก) เบื้องหน้าถึงไพรปากเบื้องบนทั้งสองข้างเป็นกำหนด ถึงหมวกหู (ใบหู) ทั้งสองข้างเป็นกำหนด ถึงเกลียวคอชายผมเบื้องหลังเป็นกำหนด (หนังบริเวณคอถึงท้ายทอย) แล้วให้มุ่นกระหมวดผมเข้าทั้งสิ้น (ม้วนเข้าหากัน) เอาท่อนไม้สอดเข้าข้างละคน โยกคลอนสั่นเพิกหนังทั้งผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายหยาบขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์

        สถาน 3 คือ ให้เอาขอเกี่ยวปากให้อ้าไว้ แล้ให้ตามประทีบ (ดวงไฟ) ไว้ในปาก ไนยหนึ่ง (นัยหนึ่ง) เอาปากสิวอันคมนั้นแสะแหวะผ่าปากจนหมวกหู (ใบหู) ทั้งสองข้าง แล้วเอาขอเกี่ยวให้อ้าปากไว้ให้โลหิตไหลออกเต็มปาก

        สถาน 4 คือ เอาผ้าชุบน้ำมันพันให้ทั่วร่างกายแล้วเอาเพลิงจุด

สถาน 5 คือ เอาผ้าชุบน้ำมันพันนิ้วทั้งสิบนิ้วแล้วเอาเพลิงจุด

        สถาน 6 คือ เชือดเนื้อให้เป็นแรงเป็นริ้วอย่าให้ขาดจากกัน ตั้งแต่ใต้คอลงไปถึงข้อเท้าแล้วเอาเชือกผูกจำ ให้เดินเหยียบริ้วเนื้อริ้วหนังแห่งตน ให้ฉุดคร่าตีจำให้เดินไปกว่าจะตาย

        สถาน 7 คือ เชือดเนื้อให้เนื่องด้วยหนังเป็นแร่งเป็นริ้ว ตั้งแต่ใต้คอลงมาถึงเอวและให้เชือดตั้งแต่เอวให้เนื่องด้วยหนังเป็นแร้งเป็นริ้วลงมาถึงข้อเท้ากระทำหนังเบื้องบนให้คลุมลงมาเหมือนนุ่งผ้า

        สถาน 8 คือ ให้เอาห่วงเหล็กสวมข้อศอกทั้งสองข้าง ข้อเข่าทั้งสองข้างให้มั่นแล้วเอาหลักสอดในวงเหล็กแย่งขึงตรึงลงไว้กับแผ่นดินอย่าให้้ไหวตัวได้ แล้วเอาเพลิงรน (ลน) ให้รอบตัวจนกว่าจะตาย

        สถาน 9 คือ ให้เอาเบ็ดใหญ่ที่มีคมสองข้างเกี่ยวทั่วร่างเพิก (เปิด) หนังเนื้อและเอ็นน้อยใหญ่ให้หลุดขาดออกมาจนกว่าจะตาย

        สถาน 10 คือ ให้เอามีดที่คมเชือดเนื้อให้ตกออกจากกายแต่ทีละตำลึง(นำเนื้อมาชั่งให้ได้น้ำหนักหนึ่่งตำลึง:มาตราวัดสมัยโบราณ) จนกว่าจะสิ้นมังสา (เนื้อ)

        สถาน 11 คือ ให้แล่สับทั่วร่างแล้ว เอาแปรงหวีชุบน้ำแสบกรีดครูดขูดเสาะหนังและเนื้อแลเอ็นน้อยใหญ่ให้ลอกออกให้สิ้นให้อยู่แต่ร่างกระดูก

        สถาน 12 คือ ให้นอนลงโดยข้างๆ หนึ่งแล้วให้เอาหลาวเหล็กตอกลงไปโดยช่องหูให้แน่นกับแผ่นดินแล้วจับขาทั้งสองข้างหมุนเวียนไปดังบุคคลทำบังเวียน (เวียนเทียน)

        สถาน 13 คือ ทำมิให้หนังพังหนังขาด แล้วเอาลูกสีลา (ลูกหิน) บดทุกกระดูกให้แหลกย่อย แล้วรวบผมเข้าทั้งสิ้น ยกขึ้นหย่อนลงกระทำให้เนื้อเป็นกองเป็นลอมแล้วพับห่อเนื้อหนังกับทั้งกระดูกนั้นทอดวางไว้ดั่งตั่งอันทำด้วยฟางซึ่งเอาไว้เช็ดเท้า

        สถาน 14 คือ ให้เคี่ยวน้ำมันให้เดือดพลุ่งพล่าน แล้วลาด**censor**ลงมาแต่ศีศะ (ศีรษะ) จนกว่าจะตาย

        สถาน 15 คือ ให้กักขังสุนัขร้ายทั้งหลายไว้ อดอาหารหลายวันให้เต็มอยากแล้วปล่อยให้กัดทึ้งเนื้อหนังกินให้เหลือแต่ร่างกระดูกเปล่า

        สถาน 16 คือ ให้เอาขวานผ่าอกทั้งเป็นแหกออกดั่งโครงเนื้อ

        สถาน 17 คือ ให้แทงด้วยหอกทีละน้อยๆ จนกว่าจะตาย

        สถาน 18 คือ ให้ขุดหลุมฝังเพียงเอว แล้วเอาฟางปกลงคลุมร่างก่อนคลอกด้วยเพลิงพอหนังไหม้แล้วไถด้วยไถเหล็ก ให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่เป็นริ้วน้อยริ้วใหญ่

        สถาน 19 คือ ให้เชือดเนื้อล่ำออกทอดด้วยน้ำมัน เหมือนทอดขนมให้กินเนื้อตัวเองจนกว่าจะตาย

        สถาน 20 คือ ให้ตีด้วยตะบองสั้นตะบองยาวจนกว่าจะตาย

        สถาน 21 คือ ตีด้วยหวายที่มีหนามจนกว่าจะตาย


เกร็ดความรู้ เรื่องเล่าจากลานประหาร


การประหารชีวิต ถือเป็นบทลงโทษที่รุนแรงที่สุดในทุก ๆ ประเทศ ที่มีมาตั้งแต่อดีต ซึ่งถ้าหากใครได้อ่านหรือศึกษาเรื่องราวเหล่านี้ซักครั้ง คงจะรู้สึกไม่ต่างกันหรอกค่ะว่า แม้ว่าในแต่ละประเทศจะมีเครื่องมือประหารชีวิตที่แตกต่างกันออกไป แต่ความรุนแรง หรือความซาดิสม์นั้นไม่ได้ต่างกันเลย เพราะไม่ว่าจะใช้เครื่องมือไหน ๆ ก็ล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์เดียวกัน นั่นคือทรมานคนผิดอย่างเลือดเย็นแล้วปล่อยให้เจ็บปวดตายไปในที่สุด ในประเทศไทยก็เช่นกัน โทษประหารที่เคยทำกันมาตั้งแต่อดีตนั้นขึ้นชื่อว่าโหดใช่ย่อย

เริ่มตั้งแต่สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์


วิธีการประหารชีวิตจะเน้นความทรมานชนิดที่ได้ยินแล้วยังขนลุก ไม่ว่าจะเป็นการเอาน้ำมันเดือดราดหัวจนตาย เอามีดและขวานผ่าอกแหวกตับไตไส้พุงทั้งเป็นจนตาย เอาเบ็ดใหญ่เกี่ยวเนื้อให้หลุดทีละส่วนจนตาย เอามีดคม ๆ แล่เนื้อลอกหนังออกทีละนิดจนตาย เอาหอกค่อย ๆ ทิ่มแทงจนตาย หรือฝังดินครึ่งตัวแล้วเผาส่วนบนจนทรมานตาย

ซึ่งโทษแสนทรมานในสมัยนั้น ก็จะตัดสินจากความผิดที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่นถ้าใครเผาบ้านเมือง ก็จะถูกประหารด้วยการเอาผ้าชุบน้ำมันพันรอบตัวแล้วจุดไฟเผาทั้งเป็น อย่างงี้เป็นต้น และที่สำคัญการประหารชีวิตทุกรูปแบบก็จะต้องทำกันแบบโจ่งแจ้งต่อหน้าชาวบ้านมากมาย เพื่อให้คนเกรงกลัว และมันก็ได้ผลดีเลยล่ะค่ะ เพราะเวลาที่มีการประหารนักโทษซักคน บ้านเมืองก็สงบสุขไปพักใหญ่ทีเดียว เพราะไม่มีใครกล้าทำความผิด ไม่มีใครอยากถูกลงโทษอย่างทรมานอย่างที่ตัวเองไปเห็นมา

สมัยอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์


การประหารด้วยวิธีทรมานสารพัดก็เริ่มค่อย ๆ หายไป เหลืออยู่แค่วิธีเดียวง่าย ๆ นั่นคือ การตัดคอหรือกุดหัวเท่านั้น เป็นวิธีฉับเดียวดับ ไม่ทันได้ทรมานก็ตายแล้ว แถมก่อนหน้าวันประหารก็ยังมีการเลี้ยงข้าวเลี้ยงน้ำอย่างดีอีก และพอถึงวันประหารนักโทษก็ถูกปิดตา ไม่ต้องเห็นบาดแผล ไม่ต้องรู้ว่าใครกำลังจะทำอะไรเรา ไปแบบสบาย ๆ เลยทีเดียว

ในการประหารนักโทษ 1 คน เค้าจะใช้เพชฌฆาตถึง 3 คน ซึ่งโดยปกติแล้ว ถ้าเพชฌฆาตดาบ 1 จะพลาด ก็พลาดมากที่สุดแค่ตัดคอแล้วตายแต่คอดันไม่ขาด ซึ่งแบบนี้เพชฌฆาตดาบ 2 ก็จะรีบเข้ามาฟันให้ขาดทันที ถ้ายังไม่ขาดอีกก็มีดาบ 3 สำรองไว้อีก ต้องเอาให้ขาดอย่างแท้จริงเพื่อที่จะเอาหัวไปเสียบประจานนั่นเอง ส่วนร่างกายก็มอบให้ญาตินำไปทำพิธีต่อไป

ในกรณีที่นักโทษเป็นเชื้อพระวงศ์หรือกษัตริย์ ก็จะมีวิธีเฉพาะคือการทุบด้วยท่อนจันทน์ ที่ถือเป็นไม้หอม เป็นการให้เกียรตินักโทษ โดยการประหารด้วยท่อนจันทน์นี้ จะใช้วัดปทุมคงคาเป็นลานประหาร ส่วนวิธีการ ก็คือ จะนำร่างของผู้ถูกประหารสวมด้วยถุงแดงแล้วรัดถุงให้แน่น เพื่อไม่ให้ใครแตะต้องพระวรกาย และไม่ให้ใครเห็นพระศพด้วย จากนั้นเพชฌฆาตที่ได้รับนามเฉพาะว่า "หมื่นทะลวงฟัน" ก็จะใช้ไม้จันทน์ขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายสากตำข้าวทุบลงไปสุดแรงบริเวณพระเศียรหรือพระนาภี เสร็จแล้วก็นำไปฝังในหลุม 7 คืนเพื่อให้มั่นใจว่าสิ้นพระชนม์แล้วจริง ๆ ก่อนขุดขึ้นมาประกอบพิธีต่อไป

และหากใครสงสัยว่าทำไมไม่ใช้วิธีเปิดผ้าดูว่าสิ้นแล้วหรือไม่ ก็อย่างที่บอกไปค่ะว่าไม่ว่าจะอย่างไร หลังจากนำนักโทษใส่ถุงแดงแล้วก็ห้ามเปิดให้ใครเห็นหรือแตะต้องพระวรกายโดยตรงได้เป็นอันขาด

แต่!วิธีการประหารชีวิตด้วยท่อนจันทน์ เลิกล้มไปในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากมีการประกาศใช้กฎหมาย ร.ศ. 127 ว่า ให้ประหารชีวิตเชื้อพระวงศ์ด้วยวิธีเดียวกันกับสามัญชน ไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นนักโทษ และในที่สุด ในปี 2477 ก็ได้ล้มเลิกการประหารชีวิตด้วยการตัดหัวไป เปลี่ยนเป็นการใช้ปืนยิงแทน โดยวิธีการยิงปืนประหารนี้ ก็จะมีขั้นตอนคล้ายกับการประหารชีวิตด้วยการตัดหัว ต่างที่การยิงปืนประหาร จะทำในห้องประหารมิดชิด ไม่มีการเรียกประชาชนมามุงดูเหมือนกับการประหารชีวิตด้วยการตัดหัวอีกต่อไป

การประหารชีวิตด้วยปืนทำกันมาได้ไม่นานนัก เพราะเมื่อปี 2545 ได้เปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตด้วยปืน มาเป็นการฉีดยาแทน ซึ่งการฉีดยาจะมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นแรกจะฉีดยาให้นักโทษสลบก่อน จากนั้นค่อยฉีดยาหยุดการทำงานของปอดและกระบังลม และสุดท้ายก็จะฉีดยาที่ทำให้หัวใจหยุดเต้น เป็นอันเสร็จพิธี เรียกว่าสบายกว่าวิธีไหน ๆ ไม่ต้องตื่นเต้นว่าจะถูกสับหัวหรือยิงปืนเมื่อไหร่ และวิธีนี้ก็ยังเป็นวิธีที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

ทั้งหมดนี้คือวิวัฒนาการของการประหารชีวิตในสยาม ที่ดูเหมือนจะลดความทรมานลงทุกวัน ๆ ขณะเดียวกันที่สถิติการประหารชีวิตก็ค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ ทั้งในไทยและหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งที่เป็นอย่างนั้นก็ไม่ใช่เพราะว่าคนเรามีคุณธรรมกันมากขึ้นแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะบทลงโทษในสังคมทุกวันนี้มันเบาลงเรื่อย ๆ ต่างหาก..

ยิ่งไปกว่านั้น ในยุคที่บทลงโทษในสังคมเบาลงทุกวัน ขณะที่โจรผู้ร้ายมีมากขึ้นแบบนี้ ก็ยังมีคนในหลายประเทศออกโรงต่อต้านการประหารชีวิตกันอย่างมากมาย เพราะเห็นว่ามันโหดร้าย ก็ไม่แน่ว่า..

บางที โทษประหารอาจถูกล้มเลิกไปในอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้าก็เป็นได้ และถ้าวันนั้นมาถึงเมื่อไหร่ สังคมก็คงวุ่นวายขึ้นน่าดู

สงครามเวียดนาม 13



สงครามเวียดนาม




















สงครามเวียดนาม

สงครามเวียดนาม

เอกราชของขบวนการชาตินิยมเวียดมินห์ ต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมเดิมคือ ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสถอนตัวสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่และสนับสนุนเวียดนามใต้ ความขัดแย้งจึงกลายสงครามตัวแทนในช่วงสงครามเย็น ระหว่างกองกำลังเวียดนามใต้นิยมประชาธิปไตยที่มีสหรัฐสนับสนุนกับกองกำลังนิยมเวียดนามเหนือนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตหนุนหลัง

ภูมิหลังสงครามเวียดนาม


          เวียดนามเคยป็นเมืองขึ้นของจีนสมัยโบราณกว่าร้อยปี จึงรับอิทธิพลความเชื่อลัทธิขงจื๊อและวัฒนธรรมจีนมาผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองของตน ต่อมาในคริสต์สตวรรษที่ 18-19 ฝรั่งเศสขยายอำนาจมายึดครองเวียดนาม กัมพูชาและลาว รวมเรียกว่าอินโดจีนฝรั่งเศส ต่อมาได้มีขบวนการชาตินิยมเรียกร้องเอกราชแต่ถูกฝรั่งเศสปราบปรามอย่างรุนแรง ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก แต่มีผู้นำคนสำคัญที่สามารถนำความสำเร็จมาให้ขบวนการชาตินิยมเวียดนามหรือเวียดมินห์ คือ โฮชิมินห์

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กองกำลังชาตินิยมเวียดมินห์ให้การสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรโดยหวังจะได้เอกราชเป็นการตอบแทน แต่ฝรั่งเศสไม่ยินยอมและกลับมาครอบครองอินโดจีนอีกครั้งหลังสงครามโลก ทำให้เกิดการสู้รบกันตั้งแต่ ค.ศ. 1946 และสิ้นสุดลงในค.ศ 1954 เมื่อฝรั่งเศสแพ้ในสมรภูมิเดียนเบียนฟู มีการทำสัญญาสงบศึกที่ปารีส ฝรั่งเศสถอนตัวจากอินโดจีน มีผลให้ประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชาได้รับเอกราช และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อรวมเวียดนาม แต่ขณะที่ยังไม่มีการเลือกตั้ง ให้แบ่งเวียดนามเป็นสองส่วนที่เส้นขนานที่ 17 เวียดนามเหนือนำโดยโฮชิมินห์ ศูนย์กลางอยู่ที่ฮานอยและเวียดนามใต้ นำโดยกษัตริย์เบาได๋ ศูนย์กลางอยู่ที่ไซ่ง่อน

สหรัฐอเมริกากับสงครามเวียดนาม

          การแทรกแซงของสหรัฐเริ่มต้นต่างจากการเข้าสู่สงครามเกาหลี เนื่องจากปัญหาการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรวมชาติเวียดนาม เพราะเกรงว่าชาวเวียดนามจะเลือกโฮชิมินห์ ซึ่งเป็นวีรบุรุษกู้ชาติเวียดนามทั้งสองส่วนมีวิถีชีวิตต่างกันและนิยมความคิดทางการเมืองไม่ตรงกัน  เวียดนามเหนือส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรยากจน เสียเปรียบเจ้าของที่ดิน จึงนิยมคอมมิวนิสต์ ทั้งยังได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่รบกับฝรั่งเศส สื่งที่สำคัญคือ ความนิยมในตัววีรบุรุษ ผู้นำขบวนการชาตินิยมคือ โฮชิมินห์  หากมีการเลือกตั้งประชาชนทั่วไปมีแนวโน้มจะเลือกโฮชิมินห์ วีรบุรุษของตน โดยไม่สนใจลัทธิการเมือง สหรัฐจึงเข้ามาสนับสนุนเวียดนามใต้แทนฝรั่งเศส เพื่อสกัดกั้นไม่ให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เพราะเกรงว่าผู้นิยมคอมมิวนิสต์จะได้ชัยชนะและทำให้เวียดนามเป็นคอมมิวนิสต์ การยกเลิกการเลือกตั้งประธานาธิบดีทำให้เวียดนามเหนือประกาศสงครามกับเวียดนามใต้อีกครั้ง เพื่อใช้กำลังรวมเวียดนามเป็นประเทศเดียวกัน สหรัฐมีความเชื่อฤษฎีโดมิโน คือ เมื่อชาติหนึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ชาติที่อยู่ใก้ลเคียงจะถูกคุกคามและตกอยู่ในอิทธิพลคอมมิวนิสต์ด้วย เช่นเดียวกับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในยุโรปตะวันออก  จึงเข้ามาปกป้องประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มิให้เป็นไปตามนโยบายวาทะทรูแมนและแผนการมาร์แชล

          สหรัฐอเมริกาเริ่มส่งที่ปรึกษาทางทหารและส่งอาวุธยุทธปกรณ์ เพื่อพัฒนากองทัพให้กับเวียดนามใต้ ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีไอเซ็นเฮาว์และประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี ต่อมาเมื่อเคเนดีเสียชีวิตจากการลอบสังหารที่ดัลลัส เท็กซัส รองประธานาธิบดีจอห์นสันได้รับตำแหน่งผู้นำสหรัฐแทน ได้ส่งกำลังพลนับแสนคนพร้อมอาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง  เข้ามาสกัดกั้นการคุกคามของคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม ทำให้สงครามเวียดนามขยายตัวและรุนแรงมากขึ้น นับแต่ ค.ศ. 1965 เป็นต้นมา

          ฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือมีกองทัพเวียดมินห์  สำหรับการรบเต็มรูปแบบและมีขบวนการเวียดกง เป็นประชาชนทั่วไปที่นิยมคอมมิวนิสต์หรือถูกบังคับให้เป็นคอมมิวนิสต์ ปฏิบัติการแทรกซึมและบ่อนทำลายอยู่ทั่วไปในเวียดนามใต้ ทำให้ยากต่อการปราบปราม และทำให้สื่อต่าง ๆเสนอภาพเสมือนทหารสหรัฐรังแกประชาชนเวียดนามที่อ่อนแอกว่า

          ในช่วงแรกของสงคราม เวียดนามเหนือได้ใช้ยุทธวิธียกกำลังทำสงครามเต็มรูปแบบกับกองทัพสหรัฐ บุกเข้ามาใต้เส้นขนานที่ 17 และสังหารประชาชนอย่างโหดเหี้ยม แม้จะไม่ได้ชัยชนะแต่ทำให้ชาวเวียดนามใต้เกิดความเกรงกลัวอำนาจของคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนืออย่างมาก จึงมักยอมเข้ากับ เวียดนามในฐานะกองกำลังเวียดกง ปฏิบัติการแทรกซึม บ่อนทำลายในเวียดนามใต้

          สหรัฐและพันธมิตรในองค์การ SEATO ได้ระดมความร่วมมือทางทหารเข้าไปรบในเวียดนามแต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะส่วนใหญ่เวียดนามเหนือและเวียดกงรบแบบกองโจร ลอบวางระเบิดและซุ่มโจมตี ทำให้ทหารเวียดนามใต้และทหารนาวิกโยธินสหรัฐเสียชีวิตจำนวนมาก จึงใช้การปราบปรามอย่างรุนแรง เช่น  ยิงทิ้งผู้ที่คาดว่าเป็นเวียดกง การเผาทำลายหมู่บ้าน ตลอกจนการทิ้งระเบิดปูพรมตามจุดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เช่น เมืองท่าและชายแดนเวียดนาม-กัมพูชา เพื่อตัดเส้นทางการลำเลียงทหารและอาวุธจากเวียดนามเหนือสู่เวียดนามใต้ผ่านทางกัมพูชา ทำให้เกิดความเสียหายต่อพลเรือนจำนวนมหาศาล ส่งผลให้ทั่วโลกประนามการกระทำของสหรัฐ

CIA ของสหรัฐยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติเปลี่ยนผู้นำรัฐบาลเวียดนามใต้บ่อยครั้ง แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถแก้ปัญหาการคอรับชั่นในรัฐบาลที่ตั้งขึ้นได้ ทำให้งบประมาณที่สหรัฐให้ไปปรับปรุงกองทัพหรือพัฒนาชนบท กลับไปตกอยู่ในมือของข้าราชการระดับสูงและนายทหารของเวียดนามใต้ การรบในเวียดนามซึ่งทำให้สหรัฐสูญเสียทหารจำนวนมาก เพราะไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศและมีความกดดันจากการเผชิญกับเวียดกงที่รบในประเทศตนเอง ยากต่อการเอาชนะ   
       คนหนุ่มสาวในสหรัฐจึงเดินขบวนเรียกร้องสันติภาพทั่วประเทศ เรียกร้องให้ถอนทหารจากสงครามเวียดนาม   เมื่อมีการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีจอห์นสันจึงไม่ลงสมัครอีก ทำให้นิกสันซึ่งเสนอนโยบายถอนทหารสหรัฐออกจากเวียดนามและลดบทบาททางทหารทั่วโลกได้รับชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนต่อมา นิกสันจึงเจรจากับจีน สนับสนุนโยบายจีนเดียวแลกกับการให้จีนยอมรับการถอนทหารจากเวียดนามตั้งแต่ ค.ศ. 1973  หลังจากนั้นสหรัฐได้ตกลงถอนทหารจนสิ้นสุดในเดือนเมษายน 1975 กองทัพเวียดนามเหนือเข้ายึดครองไซง่อนได้สำเร็จและเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น โฮชิมินห์ซิตี